Thursday, August 20, 2009

12 lessons of Alan Greenspan

Alan Greenspan ประธานธนาคารชาติหรือธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ the Federal Reserve of U.S.A. เคยเรียนดนตรีที่ Juliord School จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (Bachelor of Science) ด้านเศรษฐศาสตร์เกียรตินิยม (summa cum laude) ปี พ.ศ. 2491 (1948) หรือเมื่อ 56 ปีมาแล้ว และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่ซึ่งเขาได้พบและเป็นเพื่อนที่ดีกับ Arthur Burns ประธานคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ และต่อมาก็ได้ดำรงตำแหน่งประธาน Federal Reserve ช่วงปี 1970-1978 Alan Greenspan ยกเลิกการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก (Ph.D) เนื่องมาจากปัญหาทางการเงินและประสงค์ที่จะเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาชีพ (Professional Economist) หลังจากที่ได้ร่วมงานวิเคราะห์และจัดทำหนังสือกับกลุ่มนักวิเคราะห์วิจัยด้านเศรษฐศาสตรฺ์ ธุรกิจและสังคมที่มีชื่อเสียงจนเป็นที่นิยมและได้นำไปสู่ความคิดเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจที่เน้นความสำคัญในการสร้าง “ คุณธรรมของระบบนายทุน (morality of capitalism) “ เพื่อการสร้างความดีให้มากที่สุด สำหรับประชาชนจำนวนมากที่สุด (most good for most people) การตระหนักสำนึกในหน้าที่ของประชาชนแต่ละบุคคล(People Responsibility and Accountability) และการที่รัฐบาลจะต้องยึดมั่นในระบบตลาด พร้อมกับสนับสนุนบทบาทนั้นเพื่อการประกอบธุรกิจเสรี Alan Greenspan ร่วมกับนักธุรกิจค้าหลักทรัพย์พันธบัตร William Townsend จัดตั้งบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำเพื่อการวิจัยและการจัดทำประมาณการทางเศรษฐกิจให้กับลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการวางแผนทางธุรกิจ รวมทั้งบริษัทในกลุ่ม Fortune 500 บริษัทด้วย แต่ก็ได้ล้มเลิกกิจการไปเมื่อได้ตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตมาปฏิบัติงานที่ Federal Reserve เมื่อปี 1987 Alan Greenspan เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เป็นผู้ที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้โดยสำเร็จอย่างไม่มีที่ติ และไม่เคยสั่นคลอนเลยในฐานะเป็นผู้คาดการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีระดับฝีมือยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา


โดยสรุปแล้ว Greenspan เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเงินที่ใช้แนวทางที่ขนานนามได้ว่าเป็น “The Greenspan Way of Monetarism” ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกามีการเจริญเติบโตติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดเท่าที่ประเทศนี้เคยประสบมา และประวัติศาสตร์ของประเทศนี้จะเคยบันทึกไว้ ประชาชนจำนวนมากกว่าที่เคยเป็นมา ได้มีงานทำ ประชาชนจำนวนมากกว่าที่เคยพบมาได้เป็นเจ้าของบ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และบริษัทหรือวิสาหกิจต่างๆ จำนวนมากกว่าที่เคยมีมาได้รับผลกำไรและเจริญเติบโตมากกว่าที่เคยเห็นมาในประวัติศาสตร์ที่เคยจารึกในสหรัฐอเมริกา อะไรทำให้ Alan Greenspan ประสบความสำเร็จได้ถึงขนาดนี้ Alan Greenspan ประสบความสำเร็จเพราะไม่เคยเลยที่จะลังเลหรือโอนเอียงวอกแวกไปจากความเชื่อถือที่ตนเองมีอยู่ใต้บทเรียน สรุปได้ 12 บทเรียน ดังนี้


บทที่ 1 เรียนรู้ทุกอย่างเท่าที่จะสามารถ เก็บสะสมข้อมูลทุกเรื่อง ย่อยประมวลตัวเลขที่จำเป็นทุกตัวเลขที่จำเป็นทุกตัว ทั้งที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วก่อนที่จะออกประมาณการณ์หรือคาดคะเนใดๆในทางการเงิน แต่แม้กระนั้นก็ยังต้องยอมรับและเข้าใจเป็นอย่างดีว่าไม่มีผู้ใดสามารถทำนายอนาคตได้ เมื่อมีเรื่องของคนเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากพฤติกรรมมนุษย์ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือเรื่องของคนเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ (people are unpredictable) ในกรณีที่ท่านผิด หรือบกพร่องอะไรท่านจะต้องแก้ไขความผิดของท่านแล้วปฏิบัติหน้าที่ต่อไป (If you ‘re wrong ,correct your mistake and move on)


บทที่ 2 กังวลล่วงหน้าเอาไว้ก่อน (worry early) โดยไม่ประมาท แต่ไม่ใช่กังวลจนประสาทเสีย เพราะเมื่อท่านเริ่มเห็นสัญญาณของปัญหา เช่น เงินเฟ้อเกิดขึ้นมา ในตอนนั้นอาจสายเกินกว่าที่จะป้องกันได้เสียแล้ว


บทที่3ภาวะเงินเฟ้อหรือระดับราคาปราศจากเสถียรภาพและความไม่แน่นอนในรูปแบบใดๆ ก็ตาม เป็นสิ่งที่เลวร้ายอย่างแท้จริงในระบบเศรษฐกิจเพราะสภาวะเช่นนี้ทำให้ประชาชนไม่มีความสามารถที่จะรับกับความเสี่ยงได้ (unwilling to take risks) ซึ่งความเสี่ยงนั้นแท้จริงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพียงแต่ต้องรู้จักการบริหารความเสี่ยงให้ชาญฉลาดเท่านั้น


บทที่4 จงยอมรับกับความยากลำบากในระยะสั้นหากมันจะสามารถนำมาซึ่งผลตอบแทนในระยะยาว ดังนั้นผลจากการตัดสินใจของเราย่อมจะไม่เป็นที่นิยมเสมอไปเป็นธรรมชาติปกติธรรมดา


บทที่ 5 หนี้เป็นสิ่งที่เลวร้าย ฉะนั้นจึงต้องจ่ายชำระมันไปให้เร็วที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้


บทที่ 6 แสดงความคิดเห็นของท่านต่อไปในหลายรูปแบบและหลายวิธีการเท่าที่จะเป็นไปได้ จนกระทั่งบุคคลที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั้งหลายมีความเข้าใจในที่สุด และสามารถปฏิบัติได้ตามที่ท่านได้บอกกล่าวเขาและเธอเหล่านั้น


บทที่ 7 จงรู้จักและยอมรับผลลัพธ์ที่เกิดจากการตัดสินใจของท่านด้วยความเข้าใจเป็นอย่างดี และรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นหากท่านไม่ได้ตัดสินใจในสิ่งนั้น จงพิจารณากรณีที่เลวร้ายที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นได้และจะต้องรู้วิธีการว่าจะดำเนินการอย่างไรกับกรณีนั้นด้วย


บทที่ 8 ท่านไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงได้ และในความเป็นจริงแล้วท่านไม่จำเป็นต้องกำจัดมัน แต่ควรจะบรรเทาผลกระทบมันได้ และยอมรับว่าความเสี่ยงเหล่านั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องผนวกเข้าไปในกระบวนการทำการตัดสินใจของท่าน (decision making process)


บทที่ 9 วงจรธุรกิจซึ่งมีทั้งขึ้นและลงเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นจริง ทางที่ดีที่สุดเราสามารถทำได้ คือพยายามทำให้ภาวะที่ขึ้นและลงไม่เกินเลยไป (too extreme) จงพยายามใช้สายตารวมแสงไปยังภาพที่ใหญ่กว่าแม้ว่าจะเกิดการถดถอยในระยะสั้น


บทที่ 10 เป็นที่แน่นอนเสมอมาและเสมอไปว่า การสร้างเงื่อนไขย่อมจะเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี จึงต้องสร้างให้มีความยืดหยุ่น ต้องทำให้มีความเข้าใจและต้องปรับปรุงให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวของท่าน แต่ยังคงสามารถคงอยู่กับความเป็นจริงในความเชื่อถือที่มั่นคงและสำคัญของท่านตลอดไป


บทที่ 11 ระบบตลาดที่สามารถแข่งขันได้อย่างเสรีเป็นระบบตลาดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ฉะนั้นการก้าวก่ายของภาครัฐบาลควรจะต้องเก็บสำรองไว้ใช้เฉพาะเกิดวิกฤติการณ์เท่านั้น (Government intervention should be reserved for crisis)


บทที่ 12 ในที่สุดแล้วความน่าเชื่อถือในตัวของท่านก็คือสินทรัพย์ที่มีความสำคัญ และมีคุณค่ามากที่สุด (นำติดตัวไปตอนที่ท่านตายแล้วเพื่อไปเกิดใหม่ก็ได้!)

คัดลอกมาจากหมวดบทความในเวปThaiVI

No comments:

Post a Comment